close

Banner SCG Chemicals

REGISTRATION FORMS

Forms for Debenture Registration and SCG Debenture Club

  1. 1. การโอนหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)
  2. 2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)
  3. 3. การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ย (มีแบบฟอร์ม)
  4. 4. การแยกใบหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)
  5. 5. การขอแก้ไขเช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้สูญหายหรือชำรุด/หมดอายุ (มีแบบฟอร์ม)
  6. 6. การขอหนังสือสำเนารับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ไม่มีแบบฟอร์ม)
  7. 7. การขอหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)
  8. 8. การขอออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ทดแทนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย (มีแบบฟอร์ม)
  9. 9. การโอนหุ้นกู้ให้ผู้จัดการมรดก (กรณีมีคำสั่งศาล) (มีแบบฟอร์ม)
  10. 10. แบบฟอร์มสมัคร/เปลี่ยนแปลงข้อมูล/ยกเลิกสมาชิก เอสซีจี ดีเบนเจอร์ คลับ (มีแบบฟอร์ม)
  11. 11. เอกสารประกอบการแสดงตน สำหรับบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และคณะบุคคล

1

การโอนหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)

1. การโอนหุ้นกู้ สามารถเลือกวิธีการโอนหลักทรัพย์ได้ 2 วิธี ได้แก่

1.1 การโอนใบหุ้นกู้โดยการสลักหลัง
นายทะเบียนจะรับรองรายการโอน ก็ต่อเมื่อผู้โอน และ/หรือ ผู้รับโอน นำใบหุ้นกู้มาแสดงและแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนหุ้นกู้ เพื่อบันทึกการโอนในระบบนายทะเบียนหุ้นกู้ ทั้งนี้ชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่หน้าใบหุ้นกู้ยังเป็นของผู้ถือหุ้นกู้เดิม แต่ชื่อผู้รับโอนจะแสดงอยู่ด้านหลังใบหุ้นกู้ในช่องผู้รับโอน

1.2 การโอนหุ้นกู้โดยออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่
นายทะเบียนจะจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ให้ใหม่ ซึ่งระบุชื่อของผู้ถือหุ้นกู้ที่รับโอนสิทธิ์

การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้รับโอนกรอก แบบคำขอลงทะเบียนรับโอนหลักทรัพย์ และยื่นเอกสารทั้งหมด (ตามรายละเอียดที่ระบุในแบบฟอร์มของนายทะเบียน) ด้วยตนเองเพื่อแสดงตัวตนต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมทั้งแจ้งนายทะเบียนด้วยว่าต้องการโอนหุ้นกู้โดยการสลักหลัง หรือโดยการออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาในการดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)

  • การโอนหุ้นกู้โดยการสลักหลัง กรณียื่นที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนด้วยตนเองจะสามารถรอรับใบหุ้นกู้กลับได้ทันที หากนายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน (ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ชั่วโมง) แต่หากยื่นเอกสารผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จะใช้เวลาในการจัดส่งใบหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ และหากผู้รับโอนไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง ต้องลงลายมือชื่อในช่องลงชื่อผู้มอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท ลงบนแบบฟอร์ม
  • การโอนหุ้นกู้โดยออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ ไม่ว่าจะยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหรือผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ กรณีที่มีการออกใบหุ้นกู้ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกใบหุ้นกู้ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ และ/หรือ ตามที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด
  • สามารถรับใบหุ้นกู้ (ถ้ามี) ด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้


เอกสารประกอบ

1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง ผู้โอนลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนและผู้รับโอนลงลายมือชื่อในช่องผู้รับโอน
2. เอกสารประกอบของผู้โอนและผู้รับโอน
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้รับโอน

2

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)

ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล / ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร หรืออื่น ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้


การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบคำขอแก้ไขชื่อ และ/หรือ ชื่อสกุล หรือ แบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั่วไป แล้วแต่กรณี
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า


กรณีเปลี่ยนแปลง คำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

  • แนบสำเนาหนังสือการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่า แล้วแต่กรณี และแนบใบหุ้นกู้ฉบับจริง เพื่อออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่


ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)

  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารขอแก้ไขข้อมูลด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ โดยการแก้ไขข้อมูลจะมีผลในวันที่ยื่นเอกสาร แต่หากยื่นเอกสารผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ นายทะเบียนจะทำการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับ แบบคำขอแก้ไขชื่อ และ/หรือ ชื่อสกุล หรือ แบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั่วไป
  • กรณีที่ออกใบหุ้นกู้ใหม่ นายทะเบียนจะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ กรณีที่มีการออกใบหุ้นกู้ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกใบหุ้นกู้ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ และ/หรือ ตามที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด
  • สามารถรับใบหุ้นกู้ (ถ้ามี) ด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

หมายเหตุ: ในกรณีที่ใบหุ้นกู้ฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ให้ดำเนินการยื่นแบบฟอร์มผ่านบริษัทผู้ฝากหลักทรัพย์ของท่าน


เอกสารประกอบ

1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
2. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, ใบเปลี่ยนแปลงชื่อ และ/หรือ ชื่อสกุล
3. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)

3

การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ย (มีแบบฟอร์ม)

ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยได้ที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยในแต่ละครั้ง จะมีผลเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีใบหุ้นกู้ ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ได้แจ้งความประสงค์ไว้กับนายทะเบียนเท่านั้น โดยไม่มีผลต่อหลักทรัพย์ หรือหุ้นกู้อื่นที่มิได้แจ้งความประสงค์

การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั่วไป
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • แนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก หรือ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและนามสกุล / ชื่อธนาคาร / เลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกู้ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาดำเนินการ

  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารขอแก้ไขข้อมูลด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ โดยการแก้ไขข้อมูลจะมีผลในวันที่ยื่นเอกสาร แต่หากยื่นเอกสารผ่านทางสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ นายทะเบียนจะทำการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้

หมายเหตุ: ในกรณีที่ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ นายทะเบียนจะออกเช็คและจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นกู้ในภายหลัง

เอกสารประกอบ

1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ/ผู้กระทำการแทน (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก หรือ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและนามสกุล / ชื่อธนาคาร / เลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกู้ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

4

การแยกใบหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)

ผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอแยกใบหุ้นกู้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบคำขอแยกใบหลักทรัพย์
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีของผู้ถือหลักทรัพย์ เพื่อรับดอกเบี้ยและเงินต้นในวันครบกำหนดไถ่ถอน
  • ใบหุ้นกู้ฉบับจริงที่ต้องการแยกใบหุ้นกู้
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่

  • นายทะเบียนจะออกใบหุ้นกู้ใหม่ โดยจะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ กรณีที่มีการออกใบหุ้นกู้ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกใบหุ้นกู้ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ และ/หรือ ตามที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด
  • สามารถรับใบหุ้นกู้ด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

เอกสารประกอบ

1. ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
2. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประชาชน
3. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก หรือ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและนามสกุล / ชื่อธนาคาร / เลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกู้ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

5

การขอแก้ไขเช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้สูญหายหรือชำรุด/หมดอายุ (มีแบบฟอร์ม)

5.1 การแก้ไขเช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้ใช้ แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ชำรุด/หมดอายุ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เช็คดังกล่าวอายุเกินกว่า 6 เดือนนับจากวันที่หน้าเช็ค
  • ข้อความในเช็คไม่ถูกต้องสมบูรณ์
  • ต้องการเปลี่ยนชื่อบนเช็ค เนื่องจากเป็นทายาทผู้รับโอนมรดก นายทะเบียนจะพิจารณาจากเอกสารประกอบที่แนบมากับแบบฟอร์ม และจะเปลี่ยนชื่อบนเช็ค กรณีเอกสารสมบูรณ์


5.2 การขอออกเช็คใหม่กรณีเช็คสูญหาย ให้ใช้ แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คเงินปันผล/ดอกเบี้ยฉบับใหม่แทนฉบับที่สูญหาย โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้

กรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ชำรุด/หมดอายุ หรือ แบบฟอร์มหนังสือขอออกเช็คเงินปันผล/ดอกเบี้ยฉบับใหม่แทนฉบับที่สูญหาย แล้วแต่กรณี
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • กรณีเช็คหมดอายุ/ชำรุด ให้แนบเช็คหมดอายุฉบับจริง หรือเช็คชำรุดฉบับจริง
  • กรณีเช็คสูญหาย ให้แนบใบบันทึกแจ้งความของสถานีตำรวจต้นฉบับ โดยในใบแจ้งความจะต้องระบุ ชื่อผู้จ่ายเงิน ชื่อผู้รับเงิน วันที่จ่ายเงินหน้าเช็ค จำนวนเงิน และเลขที่เช็ค
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาดำเนินการ

  • นายทะเบียนจะจัดส่งเช็คฉบับใหม่ ให้ผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน โดยสามารถรับด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

เอกสารประกอบ

1. กรณีเช็คหมดอายุ/ชำรุด: เช็คหมดอายุฉบับจริง หรือเช็คชำรุดฉบับจริง (แล้วแต่กรณี)
2. กรณีเช็คสูญหาย: ใบแจ้งความฉบับจริง
3. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)

6

การขอหนังสือสำเนารับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ไม่มีแบบฟอร์ม)

ผู้ถือหุ้นกู้สามารถแจ้งนายทะเบียนหุ้นกู้เพื่อขอออกสำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ยหุ้นกู้เพื่อทดแทนฉบับเดิมที่สูญหาย โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นกู้ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และแจ้งงวดดอกเบี้ยที่ต้องการรับสำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยส่งมาที่ email address : registrar1@scb.co.th โดยนายทะเบียนจะดำเนินการส่ง email กลับไปให้ผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 2 วันทำการ โดยจะใส่ password เป็นหมายเลขบัตรประชาชน 4 ตัวท้าย
  • หรือ สามารถโทรติดต่อนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยนายทะเบียนจะดำเนินการออกและจัดส่งสำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่ จ่ายให้ผู้ถือหุ้นกู้ทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน


เอกสารประกอบ
1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)

7

การขอหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ (มีแบบฟอร์ม)

ผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานการเงินประกอบการขออนุมัติอื่น ๆ เช่น การขอวีซ่า ฯลฯ โดยมีขั้นตอนดังนี้

การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบฟอร์มคำขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาดำเนินการ

  • นายทะเบียนจะจัดส่งหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ ให้ผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วนด้วย โดยสามารถรับด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

เอกสารประกอบ

1. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)

8

การขอออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ทดแทนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย (มีแบบฟอร์ม)

ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทำใบหุ้นกู้ชำรุดหรือสูญหาย นายทะเบียนจะดำเนินการออกใบหุ้นกู้ใหม่ โดยผู้ถือหุ้นกู้จะต้องดำเนินการดังนี้

การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสาร

  • ผู้ถือหุ้นกู้กรอก แบบคำขอให้ออกใบหลักทรัพย์ใหม่แทนใบหลักทรัพย์ที่ชำรุดหรือสูญหาย
  • กรณีชำรุด ให้แนบใบหุ้นกู้ฉบับจริงที่ชำรุด
  • กรณีสูญหาย ให้แนบใบบันทึกแจ้งความของสถานีตำรวจต้นฉบับ โดยในใบแจ้งความจะต้องระบุ ชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ ชื่อและประเภทหลักทรัพย์ เลขที่ใบหลักทรัพย์ และจำนวนหน่วยหุ้นกู้ที่สูญหาย ทั้งนี้ ถ้าใบบันทึกแจ้งความเป็นสำเนา ต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงลายมือชื่อ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือหุ้นกู้และทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ: หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า

ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่

  • หากเป็นการออกใบหุ้นกู้ใหม่อันเนื่องมาจากใบหุ้นกู้เดิมชำรุดหรือสูญหาย นายทะเบียนจะดำเนินการออกใบหุ้นกู้ใหม่และจัดส่งใบหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ กรณีที่มีการออกใบหุ้นกู้ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกใบหุ้นกู้ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ หรือตามที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด
  • สามารถรับใบหุ้นกู้ด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

เอกสารประกอบ

1. กรณีใบหุ้นกู้สูญหาย: ใบแจ้งความฉบับจริง
2. กรณีใบหุ้นกู้ชำรุด: ใบหุ้นกู้ฉบับจริง
3. กรณีบุคคลธรรมดา: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. กรณีนิติบุคคล: หนังสือรับรอง, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ประทับตราบริษัทถ้ามี)

9

การโอนหุ้นกู้ให้ผู้จัดการมรดก (กรณีมีคำสั่งศาล) (มีแบบฟอร์ม)

หากผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิต ก่อนที่หุ้นกู้จะครบกำหนดไถ่ถอน ผู้จัดการมรดก สามารถขอทำเรื่องรับโอนหลักทรัพย์มรดกนี้ได้ โดยดำเนินการดังนี้

  • ผู้จัดการมรดกกรอก แบบฟอร์มหนังสือขอจัดการมรดกโดยคำสั่งศาล พร้อมลงลายมือชื่อผู้จัดการมรดก และพยาน 2 ท่าน
  • แนบสำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และสำเนาใบสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด อายุไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่จ่าศาลหรือรองจ่าศาลรับรอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้จัดการมรดกทุกหน้า (หากคำสั่งศาลรับรองเกิน 1 ปี ต้องนำคำสั่งศาลไปขอให้จ่าศาลรับรองใหม่)
  • แนบสำเนาใบมรณบัตรของผู้ถือหุ้นกู้ที่ถึงแก่กรรม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้จัดการมรดก
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการมรดก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชน
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับโอน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีผู้รับโอนไม่ใช่ผู้จัดการมรดก)
  • แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยานทั้ง 2 ท่าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชน
  • ด้านหลังใบหุ้นกู้ตัวจริงให้ผู้จัดการมรดกลงลายมือชื่อในช่องผู้โอน ส่วนผู้รับโอน ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับโอน
  • ผู้จัดการมรดกยื่นเอกสารทั้งหมดที่นายทะเบียน โดยสามารถยื่นเอกสารที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียนหุ้นกู้ หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ:

1.หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า
2.กรณีผู้จัดการมรดกมีมากกว่าหนึ่งคนต้องลงนามทุกท่าน


ระยะเวลาดำเนินการและวิธีการรับใบหุ้นกู้ใหม่ (ถ้ามี)

  • นายทะเบียนจะดำเนินการโอนสลักหลัง หรือกรณีต้องการขอออกใบหุ้นกู้ใบใหม่ ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับใบหุ้นกู้ภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่นายทะเบียนได้รับเอกสารครบถ้วน และไม่อยู่ในช่วงปิดสมุดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ กรณีที่มีการออกใบหุ้นกู้ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกใบหุ้นกู้ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ และ/หรือ ตามที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด
  • สามารถรับใบหุ้นกู้ (ถ้ามี) ด้วยตนเองที่สำนักงานใหญ่ของนายทะเบียน หรือที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

10

แบบฟอร์มสมัคร/เปลี่ยนแปลงข้อมูล/ยกเลิกสมาชิก เอสซีจี ดีเบนเจอร์ คลับ (มีแบบฟอร์ม)

11

เอกสารประกอบการแสดงตน สำหรับบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และคณะบุคคล

บุคคลธรรมดา

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ
  • บัตรอื่น ๆ ที่ราชการเป็นผู้ออก ซึ่งหากในบัตรนั้น ๆ ไม่มีการระบุเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน จะต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านด้วย

นิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองบริษัท

คณะบุคคล

  • สำเนาหนังสือจัดตั้งคณะบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของคณะบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคณะบุคคลทั้งคณะ

หมายเหตุ – เอกสารประกอบที่ใช้แสดงตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน เมื่อแนบมาพร้อมกับใบคำขอ ธนาคารไทยพาณิชย์ ขอให้ท่านขีดฆ่า/ปิดทึบข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (sensitive personal data) เช่น ข้อมูลศาสนา กรุ๊ปเลือด และเชื้อชาติ เป็นต้น ให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลดังกล่าวได้ และรับรองสำเนาถูกต้อง