การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศ SCGC มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Footprint Product) เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าในเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงลูกค้าและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593
กลยุทธ์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง การปลดปลดก๊าซเรือนกระจกของ SCGC ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้ดำเนินการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียน และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ (Natural Climate Solutions : NCS) ซึ่งได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันการผลิตลงประมาณ 5.6% เมื่อเทียบกับปี 2557 แม้จะมีกําลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านตันต่อปี โดยได้กําหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนและได้ดําเนินการขั้นตอนสําคัญในความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยลง 20% ภายในปี 2573 (เทียบกับปีฐาน 2564) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593
ตัวอย่างของโครงการริเริ่มที่ได้ดําเนินการ:
- ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: เรามุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต
- การใช้พลังงานหมุนเวียนและ/หรือไฮโดรเจนเพื่อลดคาร์บอนในการใช้พลังงานในกะบวนการผลิต
- การใช้ไฟฟ้า 'ปลอดถ่านหิน' และการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน (ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มพลังงานแสงอาทิตย์ 5.7 เมกะวัตต์สูงสุดและมีแผนที่จะดำเนินการติดตั้งเพิ่มอีก 15 เมกะวัตต์สูงสุด คิดเป็น 60% ของพลังงานไฟฟ้าภายในปี 2030)
- การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานร่วมกันอย่างมีปะรสิทธิภาพของโรงงานที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับ โครงการ LSP และโครงการ LSP 2 ในอนาคต
- โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ: เช่น การฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน, ฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมทั้งภายในและภายนอกโรงงาน.
นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ "break-through" ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนา เพื่อสนับสนุนตามแผนการการลดคาร์บอน:
- การใช้ไฮโดรเจน "เทอร์ควอยซ์" ที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เพื่อทดแทนแทนไฮโดรเจนสีเทา เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การใช้พลังงานหมุนเวียนและ/หรือไฮโดรเจนเพื่อลดคาร์บอนในการใช้พลังงาน
- การเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อยมลพิษ
- การดักจับคาร์บอนเพื่อจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
- จัดทำระบบเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการจัดการของเสีย และใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการใช้พลังงาน ลดของเสีย และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่
- การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็น low carbon รวมทั้ง renewable มากขึ้น เช่น Circular Plas (advance recycling) ได้ naphtha ที่คาร์บอนต่ำในการผลิตโอเลฟิน หรือ PCR (mechanical recycle) ในการผลิตโพลีเมอร์ รวมถึงการวางแผนเพื่อจัดทำแนวทางในการจัดหาวัตถุดิบจาก Supplier โดยให้มีการพิจารณาเรื่องการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบและบริการ รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้องในการจัดหาด้วย
- ผลักดันและสนับสนุน ให้ Logistic Supplier ทำการเปลี่ยนเชื้อเพลิงรถขนบรรทุกขนส่งจากน้ำมัน Diesel เป็น Natural Gas เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และฝุ่น นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของ Supplier
- การพัฒนาแหล่งเก็บกักก๊าซเรือนกระจก
- การปลูกป่า การฟื้นฟูธรรมชาติ
- การพัฒนานวัตกรรมในการเก็บกักก๊าซเรือนกระจก
โซลูชันระบบพลังงานแสงอาทิตย์ SCGC พัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์และนำมาติดตั้งใช้งานอย่างต่อเนื่อง ทั้งโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ และโซลาร์รูฟทอป เพื่อเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกระบวนการผลิตและอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ได้ดำเนินธุรกิจด้านโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ให้บริการแก่บริษัทในเครือเอสซีจี หน่วยงานภายนอก และลูกค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่พลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานที่สำคัญในปี 2564 เช่น
- Floating Solar Solutions นวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำที่ให้บริการแบบโซลูชันครบวงจรเป็นรายแรกของประเทศไทย ตั้งแต่การออกแบบ ผลิต ทุ่นลอยน้ำ ตั้งแต่ปี 2561-2564 ได้ดำเนินการติดตั้งให้แก่บริษัทในเอสซีจีและลูกค้าภายนอก รวมมากกว่า 43 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 50 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 35,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
- Solar Rooftop ปี 2564 จัดทำโครงการขยายผลการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานและโรงงานของบริษัทในธุรกิจของ SCGC ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด รวมกำลังการผลิตสูงสุด 3,200 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นพลังงานภายในอาคารแทนการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก รวมการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปบนอาคารแล้วทั้งสิ้น 2.2 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 1,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
- Solar Farm ปี 2562 - 2564 ติดตั้งโซลาร์ฟาร์มตามแนวท่อขนส่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ขนาด 2.6 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
- โครงการรถยนต์ไฟฟ้าบูรณาการร่วมกับการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแทนรถยนต์เชื้อเพลิงดีเซลในบริษัทอาร์ไอแอล 1996 จำกัด และมีแผนจัดสร้างระบบสถานีบริการพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคันต่อปี
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วย AI และระบบอัตโนมัติ SCGC ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานมาโดยตลอด ล่าสุดได้นำเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI Machine Learning Data Analytics ระบบอัตโนมัติ เข้ามาควบคุมการทำงาน ช่วยลดการใช้พลังงานลงอย่างมีนัยสำคัญ
- บริษัทระยองโอเลฟินส์ จำกัด ปรับปรุงการตรวจวัดและตั้งค่าควบคุมระบบไอน้ำซึ่งมีความซับซ้อนสูง จากการใช้พนักงานมาเป็นระบบดิจิทัลอัตโนมัติ และปรับปรุงการทำงานของเตาปฏิกิริยาความร้อน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโรงงาน ด้วยระบบอัตโนมัติและ Machine learning ช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 8,030 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
- บริษัทมาบตาพุดส์โอเลฟินส์ จำกัด ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI บริหารจัดการพลังงานในหน่วยการผลิต ช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่า 19,430 กิกะจูลต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 806 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และช่วยให้ควบคุมกระบวนการผลิตได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ปี 2564 ธุรกิจของ SCGC ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จำนวน 4 บริษัท แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ