close

21 ก.พ. 2567

จับตา 4 Sustainability Trends 2024 ของนวัตกรรมพลาสติก: SCGC GREEN POLYMER™

Business ESG Circular Economy Innovation Product Solutions Sustainability

ความยั่งยืนยังคงเป็นแก่นสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs) และเป็นหัวข้อสำคัญในการพัฒนาและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก วันนี้ SCGC จึงหยิบยก SCGC GREEN POLYMER™ นวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบรับเทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของเทรนด์เทคโนโลยี 2024 ด้านสิ่งแวดล้อม และเทรนด์ความยั่งยืน 2024 รวมถึงส่งเสริมเทรนด์แห่งอนาคตเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change)

-----------------------------------------------------------------------------´

SCGC ชวนอัปเดต “5 Sustainability Trends 2024”

เทรนด์ความยั่งยืนที่จะช่วยเพิ่มมิติการทำงานในเชิงรุกด้านนี้ให้มากขึ้น

เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change)

-----------------------------------------------------------------------------´

เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์แบบครบวงจรของไทยและในอาเซียนที่มีฐานการผลิตครอบคลุมทั้งในเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย เราเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มุ่งมั่นและผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์เทคโนโลยี 2024 และเทรนด์ความยั่งยืน 2024

โดยหนึ่งใน Green Innovation หรือนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของเรา คือ SCGC GREEN POLYMERTM โซลูชันนวัตกรรมพลาสติกที่ตอบโจทย์การใช้งานและส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้าน สำคัญ ได้แก่ Reduce การลดการใช้ทรัพยากร, Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้, Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่และ Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

⇒ REDUCE: การลดการใช้ทรัพยากร ⇐

SCGC ได้พัฒนา SMX™ เทคโนโลยีที่สามารถทำให้เม็ดพลาสติกมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความหนาของชิ้นงานลงได้แต่ยังมีความแข็งแรงดังเดิม สามารถนำไปขึ้นรูปได้ง่าย ช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติก ทำให้ชิ้นงานน้ำหนักเบาลง ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการขนส่ง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

      • SCGC จับมือ ไลอ้อน (ประเทศไทย) เปิดตัวบรรจุภัณฑ์รุ่นน้ำหนักเบาพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์ล้างจาน ไลปอน เอฟ (Lipon F), โปร (Pro) และผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำ โชกุบุสซึ โมโนกาตาริ (Shokubutsu Monogatari) สามารถลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ได้สูงสุดถึง 12% โดยยังคงคุณสมบัติที่ดีของบรรจุภัณฑ์ไว้อย่างครบถ้วน ช่วยลดการใช้วัสดุตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศตามแนวทาง Low Waste และ Low Carbon
      • SCGC ร่วมกับ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) พัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบาสำหรับสินค้ากลุ่มแป้ง ภายใต้แบรนด์แคร์ และโพรเทคส์ โดยใช้โซลูชันพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงเป็นพิเศษจากเทคโนโลยี SMX™ ซึ่งแข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 20% สามารถลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ได้สูงสุดถึง 8% โดยยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม ช่วยลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน
      • เม็ดพลาสติก SCGC GREEN POLYMERTM SX002J และ SCGC GREEN POLYMERTM SX002JA ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM สามารถตอบโจทย์ฝาขวดน้ำอัดลมน้ำหนักเบาพิเศษได้เป็นอย่างดี โดยเกรด SX002JA ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ Coca-Cola ว่าสามารถใช้ผลิตฝาขวดน้ำอัดลมขนาด 2 กรัมได้เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ นวัตกรรมเคมีภัณฑ์ทั้งสองยังผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice ฉลากสินค้ารักษ์โลก ในด้านการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและยืดอายุการใช้งาน (Circularity) อีกด้วย
      • SCGC™ SMX551BU เม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากเทคโนโลยี SMX™ สำหรับถัง IBC (Intermediate Bulk Container) ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ ช่วยลดการใช้วัสดลงสูงสุดถึง 10% (ขึ้นอยู่กับรูปแบบของถัง) นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนที่ SCGC ร่วมพัฒนากับ ดาว (ประเทศไทย)

⇒ RECYCLABLE: การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้

ความท้าทายในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน หรือ Flexible Packaging ซึ่งเป็นแพ็กเกจจิงยอดนิยมที่ใช้สำหรับใส่อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยว และซองรีฟิลต่าง ๆ ทำให้ SCGC ได้พัฒนาโซลูชันการออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ สำหรับผู้ผลิตและแบรนด์สินค้า รวมถึงผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ 100% เป็นนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ตอบเทรนด์ความยั่งยืน 2024 และเทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ต้องจับตามอง

SCGC ได้พัฒนาโซลูชันเพื่อสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE), พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) หรือ พอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins: PO) เพียงอย่างเดียวทั้งชิ้นงาน (Recyclable Packaging Solution) ทำให้รีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคงคุณสมบัติการใช้งานที่เทียบเท่ากับบรรจุภัณฑ์เดิม ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

SCGC ยังได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ ที่ได้รับรองมาตรฐานสากลโดย RecyClass เป็นรายแรกในอาเซียน ช่วยทดแทนการใช้วัสดุที่หลากหลายในแต่ละชั้น (Multi-Material) ของบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน อาทิ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับอาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง และซองบรรจุภัณฑ์ชนิดเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและน้ำยาทำความสะอาด โดยเหลือเพียงพลาสติกประเภทเดียวกันทั้งชิ้นงาน (Mono-Material) จึงสามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

⇒ RECYCLE: การนำกลับมาใช้ใหม่

คงจะดีไม่น้อย ถ้าพลาสติกทุกชิ้นบนโลกมีโอกาสได้เกิดใหม่ ซึ่งโซลูชัน Recycle จาก SCGC GREEN POLYMERTMสามารถนำพลาสติกใช้แล้วกลับมารีไซเคิล กลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR ซึ่ง SCGC พัฒนาคุณสมบัติให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่คิดค้นเพื่อลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ และนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ ตอบโจทย์เทรนด์นวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน

ไม่เพียงเท่านั้น SCGC ยังมีเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่ล้ำขึ้นอีกขั้น นั่นคือ Advanced Recycling เทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของโรงงานปิโตรเคมี เพื่อนำมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าเม็ดพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic) สำหรับใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหาร ผ่านการรับรองมาตรฐานความยั่งยืน ISCC PLUS โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ความมุ่งมั่นในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของ SCGC ขยายไปสู่ตลาดสำคัญในทวีปยุโรป เริ่มจากการลงทุนในบริษัทซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส ที่ขณะนี้ได้เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงอีก 25% ของกำลังการผลิตรวม ส่งผลให้บริษัทซีพลาสต์มีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลรวมกว่า 45,000 ตันต่อปี ยังไม่หยุดแค่นั้น SCGC ยังเดินหน้าลงทุนในกลุ่มบริษัทคราส (KRAS) ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเดินหน้าธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอย่างครบวงจร เพื่อรองรับตลาดโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่มีความต้องการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

      • SCGC และ ยูนิลีเวอร์ ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาและเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์จากพลาสติกชนิด HDPE เป็นพลาสติก HDPE รีไซเคิล (rHDPE) ครั้งแรกในประเทศไทยที่นำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง พร้อมใช้เทคโนโลยีการกำจัดกลิ่น เมื่อนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ จึงปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM
      • เชลล์แห่งประเทศไทย ประกาศใช้บรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นรักษ์โลก ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูงรีไซเคิล 100% ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM นำร่องน้ำมันเครื่องพรีเมียม “เชลล์ เฮลิกส์ อัลตร้า”

⇒ RENEWABLE: การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

อีกหนึ่งการพัฒนาพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม นั่นคือ พลาสติกที่ผลิตจากวัสดุทางธรรมชาติจำพวกพืช (bio-based) และทรัพยากรหมุนเวียนที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำกว่าพลาสติกทั่วไป รวมถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ช่วยลดปัญหาพลาสติกใช้แล้วที่หลุดรอดสู่ธรรมชาติได้อีกทาง ทั้งยังเป็นนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ช่วยตอบโจทย์เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ เทรนด์เทคโนโลยี 2024 และเทรนด์ความยั่งยืน 2024 อีกด้วย

SCGC เล็งเห็นความจำเป็น และโอกาสจากการผลิตพลาสติกชีวภาพ จึงจับมือกับ Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล เร่งเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย โดยได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint venture) กับ Braskem จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี โดย SCGC จะนำเอทิลีนชีวภาพที่ได้ไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative Carbon Footprint) สามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคล เครื่องใช้ในบ้าน ภายใต้แบรนด์ I’m green™ เพื่อตอบรับเมกะเทรนด์ ที่ต้องการพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย และยุโรป

SCGC GREEN POLYMERTM ทั้ง 4 โซลูชันที่สอดรับกับ Sustainability Trends นั่นคือ Reduce การลดการใช้ทรัพยากร, Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้, Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ และ Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน นับเป็นนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ เทรนด์เทคโนโลยี 2024 และเทรนด์ความยั่งยืน 2024 และยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกอุตสาหกรรม เพราะช่วยยกระดับบรรจุภัณฑ์พลาสติกไปสู่ความยั่งยืน ซึ่ง SCGC ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการจำหน่ายสินค้ากลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 เพื่อขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค ตอบโจทย์การใช้งานและการดูแลสิ่งแวดล้อม


Is this article useful ?