close

4 ต.ค. 2566

25 เรื่องน่ารู้ “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” นวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบโจทย์ 17 SDGs และ Sustainability Trends สร้างการเติบโต โลก-สังคม-และธุรกิจ

Business ESG Circular Economy Innovation Product Service Solutions Sustainability

SCGC ผู้นำนวัตกรรม เคมีภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลาสติกรีไซเคิล สอดรับกับ 17 SDGs และ Sustainability Trends ได้รวม 25 เรื่องน่ารู้ “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ไว้ที่นี่

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และความพยามยามที่ไม่หยุดยั้งในการคิดค้นสิ่งใหม่ล้วนทำให้ให้เกิด ‘นวัตกรรม’ ที่อาจจะเป็นแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเรา สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน SCGC จึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันนวัตกรรมแห่งชาติ และเกร็ดอื่น ๆ ที่น่าสนใจเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ มาให้ทุกคนได้อ่านกันเพลิน ๆ    

จุดเกิดและสายธาร ‘นวัตกรรม’

  • ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Innovation’ มีรากศัพท์จากคำนามในภาษาละตินว่า innovationem ซึ่งมีความหมายถึงสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่
  • สำหรับภาษาไทย ที่เราคุ้นเคยกันก็คือ นวัตกรรม โดยรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว (ใหม่) + อตต (ตัวเอง) + กรรม (การกระทำ) เมื่อนำทั้งสามคำมาสมาสและสนธิกันตามกฎ ก็จะได้คำที่มีความหมายตามรากศัพท์เดิม
  • Max McKeown นักพูดสร้างแรงบันดาลใจระดับโลกและผู้แต่งหนังสือ The Truth About Innovation อธิบายไว้ว่า นวัตกรรม (Innovation) คือ การทำงานสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด
  • บิดาแห่งกลยุทธ์ธุรกิจนวัตกรรม Joseph Schumpeter (หรือชื่อเต็มว่า Joseph Alois Schumpeter) ได้แบ่งระลอกของการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกเป็น 6 ช่วง มีระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1760 ที่จุดกำเนิดแรกของนวัตกรรมถูกเรียกว่ายุค Mechanization และครอบคลุมไปถึงช่วงปี 2060 ที่นวัตกรรมใหม่ ๆ ในโลกยุคนั้น ตอบโจทย์ ตอบโจทย์ 17 SDGs และ Sustainability Trends สร้างการเติบโต โลก-สังคม-และธุรกิจมากขึ้น
  • ในช่วงปี ค.ศ. 2010 องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN) ได้นำเสนอมุมมอง แนวคิดในการสร้างรายได้และสร้างงานซึ่ง UN เรียกแนวคิดนี้ว่า Creative Economy หรือในชื่อภาษาไทยคือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่ง หมายถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์ผลงาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยีใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • จากจุดดังกล่าวถือเป็นการยกระดับความสำคัญของนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีกำหนด World Creativity and Innovation Day ขึ้นในทุกวันที่ 21 เมษายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญระดับโลกที่ต้องการให้ทุกคนเห็นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อทำให้โลกของเราให้ดีขึ้น

เมื่อนวัตกรรมมาถึงเมืองไทย

  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม ว่าคือ การผลิต การเรียนรู้ และการใช้ ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ในปี 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี คือ ‘วันนวัตกรรมแห่งชาติ’ โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมจาก ‘โครงการแกล้งดิน’ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะ พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
  • นอกเหนือจากการจัดงานเทิดพระเกียรติฯ ในวันดังกล่าวแล้ว สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ยังมีการจัดพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ 5 สาขา เพื่อเป็นการให้กำลังใจและเชิดชูเกียรติแก่ผู้ค้นคิดพัฒนาผลงานนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศของประเทศ

บทบาท SCGC กับ ‘นวัตกรรม’

  • SCGC หรือ เอสซีจีซี หรือในชื่อเต็ม บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจรของภูมิภาค และมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ Sustainability Trends และเมกะเทรนด์
  • ทุกขั้นตอนในการดำเนินงานของเราตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี เป็นไปตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (17 SDGs) พร้อมเดินหน้าสู่การเป็น “ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน (Chemicals Business for Sustainability)
  • จากความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพอลิเมอร์ของเราที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมกับคอมเพล็กซ์ที่ตั้งอยู่ใน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญของอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทำให้ SCGC มีศักยภาพสูงรองรับการคิดค้นและพัฒนากลุ่มสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Products & Services: HVA)
  • ปี 2564 SCGC มีสัดส่วนสินค้า HVA สินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Products & Services) คิดเป็นประมาณ 36% ของรายได้รวม และในอนาคตมีเป้าหมายในการขยายสินค้ากลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573
  • เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการผลิต และยกระดับนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยตอบโจทย์เมกะเทรนด์ และ 17 SDGs เราจับมือกับ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และจัดตั้ง Center of Excellence ติดตามเรื่องราวความร่วมมือระดับโลกของเราได้ ที่นี่
  • ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM ของเรา คือ Green Innovation หรือ นวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ตอบรับ Sustainability Trends และ 17 SDGs เป็นนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ประยุกต์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุดผ่าน 4 โซลูชัน ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle และ Renewable  
  • นวัตกรรม SMXTM Technology เทคโนโลยีเฉพาะตัวจาก SCGC ช่วยอัปเกรดคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกให้ยังคงคุณภาพสูง ทำให้ใช้เม็ดพลาสติกน้อยลง ผลิตภัณฑ์บางลง น้ำหนักเบา และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เราจับมือกับ SCGC X LION นำร่องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ “เปา และ โชกุบุสซึ”
  • แบรนด์สินค้าระดับโลกต่าง ๆ ยังให้ความเชื่อมั่นใน SCGC GREEN POLYMERTM ของ SCGC ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ แกลลอนน้ำยาล้างจาน Unilever, ขวดแกลลอนน้ำมัน Shell, ผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดน้ำ ‘เปา’ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้ากลุ่มแป้งในเครือ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ แบรนด์ ‘แคร์’ และ ‘โพรเทคส์’
  • เรายังร่วมกับ SACMI IMOLA S.C. ผู้ผลิตเครื่องจักร แม่พิมพ์ และผู้ออกแบบฝาขวดพลาสติกให้กับแบรนด์เครื่องดื่มชั้นนำของโลก ได้พัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคเปิดฝาขวด ส่วนวงแหวนของฝาจะยังคงยึดติดกับคอขวด (Tethered Caps) จึงช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • SCGC ได้ลงทุนใน ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกรีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดในประเทศโปรตุเกส โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดภาวะโลกร้อน และตอบรับการขยายตัวของตลาดพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป รวมถึงตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย
  • SCGC เข้าร่วมโครงการ Plastics2Olefins (พลาสติกส์ทูโอเลฟินส์) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีไซเคิลพลาสติกให้เป็นโอเลฟินส์ หรือสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก อีกโซลูชันที่จะช่วยลดขยะ ลดคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มผลิตภัณฑ์รักษ์โลก คาดโครงการสำเร็จภายในปี 2027
  • กลุ่มบริษัท Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล และ SCGC ยังได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint Venture) ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี
  • SCGC นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 มาผลิตพอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ (PLGA) พร้อมเตรียมพัฒนาโรงงานนำร่องป้อนตลาดโลก โดยจับมือร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านนี้กับ Avantium N.V. ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเคมีทดแทน (Renewable Chemistry) จากประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ในส่วนของการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี Carbon Dioxide Capture and Utilization หรือ CCU เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกระบวนการผลิต SCGC คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2567 และทำการทดสอบจนถึงปี 2569
  • ในส่วนของการขยายความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำของประเทศ SCGC เปิดตัวโครงการ “Nets Up” (เนทซ์ อัป) โมเดลการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อทะเลยั่งยืน เปลี่ยนอวนประมงที่ไม่ใช้แล้ว สู่ Marine Materials วัสดุทางเลือกใหม่จากนวัตกรรมรีไซเคิล ร่วมกันกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน จ.ระยอง พันธมิตรธุรกิจ และเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล
  • อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญที่สะท้อนว่า SCGC ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของ 17 SDGs และ Sustainability Trends ก็คือ 2022 PROGRESS REPORT: CATALYSING IMPACT ที่ร่วมกันกับ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ในฐานะบริษัทผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร นำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ และโซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืน

25 เรื่องน่ารู้ “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” และการต่อยอดไปถึงเรื่องน่ารู้ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มี SCGC บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจรของภูมิภาค เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ คือภาพสะท้อนพัฒนาการสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง SCGC เป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านเคมีภัณฑ์ ด้านพลาสติกรีไซเคิล และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ 17 SDGs และ Sustainability Trends


Is this article useful ?