close

30 ก.ย. 2565

ตัวอย่างเทคโนโลยีดิจิทัลที่น่าสนใจที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

Business Solutions Digitization

บทความจาก Deloitte เดือนมิถุนายน ปี 2565 ระบุว่า “บริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสามปัจจัยต่อไปนี้ หากต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ข้อแรกคือการสร้างสรรค์นวัตกรรม การใส่ใจกับผลการดำเนินงานและการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งข้อ และสุดท้ายก็คือการบูรณาการแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยสิ่งที่เป็นฟันเฟืองสำคัญที่สุด ที่ช่วยขับเคลื่อนสามปัจจัยข้างต้นก็คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับทุกฟังก์ชันในการทำธุรกิจ (Industrial Digitization)”

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน ถือเป็นต้นแบบของบริษัทในอุตสาหกรรมที่ริเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการดำเนินงานตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้จะรวบรวมตัวอย่างเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถือเป็นไฮไลต์จาก เอสซีจีซี (SCGC)

แพลตฟอร์มดิจิทัลยกระดับการบริการ

SCGC คิดค้นและพัฒนา DCP หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Digital Commerce Platform ที่เชื่อมต่อข้อมูลจากคำสั่งซื้อลูกค้าเข้ากับข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทาง (End-to-end Data Visibility) ได้แบบเรียลไทม์ แพลตฟอร์มครบวงจรนี้ช่วยลดเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ถึงร้อยละ 70 โดยลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถเก็บ Customer Voice มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกด้วย

เสริมแกร่งให้กับกระบวนการต้นน้ำ

การจัดหาวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในทุกอุตสาหกรรม สำหรับ SCGC เองก็ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เราจึงพัฒนาแบบจำลอง Machine Learning เพื่อใช้ในการคาดการณ์สภาวะตลาด โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการประมวลผล ช่วยให้ตัดสินใจในการจัดหาวัตถุดิบที่ตรงตามอุปสงค์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ในกระบวนการผลิตที่น่าสนใจ

ในส่วนของกระบวนการผลิต SCGC ได้พัฒนาและใช้งานแพลตฟอร์มโดยปรับใช้ Machine learning ดิจิทัลทวิน (Digital Twin) ซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์ (Simulation) หุ่นยนต์ และการเชื่อมโยงและถ่ายทอดข้อมูลผ่าน Internet of Things (IoT) เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและเพิ่มความน่าเชื่อถือ โดยมีโซลูชันดังนี้

    • Digital Reliability Platform
      เทคโนโลยีดิจิทัลควบคุมเครื่องจักรทางไกล 

      โซลูชันการบริหารจัดการประสิทธิภาพของสินทรัพย์ (Asset Performance Management: APM) ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์ความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ ใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ และใช้เพื่อบำรุงรักษาระบบการดำเนินงานได้แบบครบวงจรเพื่อลดการหยุดผลิตนอกเหนือจากแผน (Unplanned Downtime)
    • Digital Twin โมเดลการผลิตจำลอง 'ดิจิทัลทวิน'

      คือ การจำลองสถานการณ์ (Simulation) พร้อมปัญญาประดิษฐ์แบบเรียลไทม์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตให้สูงสุด ช่วยลดเวลาและของเสียได้อย่างมีนัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการเปลี่ยนการผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์ (Product Transition)
    • AI Supervisory for Energy Analytics

      ระบบดิจิทัลการจัดการพลังงาน

      ในการลดการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ใช้เพื่อการเฝ้าติดตามและลดการใช้พลังงานในการผลิต ระบบดังกล่าวยังช่วยให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานได้ตลอดเวลา และทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะรู้ถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้
    • ดิจิทัลโซลูชันระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

      SCGC ร่วมกับบริษัท คริติคอล แฟซิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CFT ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ พร้อมโซลูชันระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงครบวงจร เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งป้องกันไม่มิให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องจักร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการหยุดชะงักของกระบวนการทำงานของโรงงาน

SCGC ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกความเป็นไปได้ และยกระดับการให้บริการของเราให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมกับสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต


Is this article useful ?