close

14 ก.ค. 2564

Digital Transformation ถอดรหัสกลยุทธ์การใช้ดิจิทัลในองค์กร เพื่อยกระดับวงการธุรกิจปิโตรเคมี

Business Digitization

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า AI (Artificial Intelligence) จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (The Fourth Industrial Revolution) นั่นเพราะเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในบริบทต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรม สำหรับในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเองก็เช่นเดียวกัน กระแสเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาขยายขีดความสามารถของการทำธุรกิจ และเพิ่มทางเลือกของโซลูชันให้กับความท้าทายต่าง ๆ ที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่

อุตสาหกรรมต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทาน
ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ครบวงจรของประเทศและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี จึงมีโซลูชันเม็ดพลาสติกหลากหลายรูปแบบไว้ให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ การก่อสร้าง และการแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น

กล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมี ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนสำคัญ เพราะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นและยกระดับการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้เกิดพลวัตรกับกิจกรรมของภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

Digital Transformation
ก้าวสู่ธุรกิจปิโตรเคมีแห่งอนาคต

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ก็คือ การเป็น ‘ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน’ หรือ ‘Chemicals Business for Sustainability’ ซึ่งสอดคล้องกันกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และ ESG (Environmental, Social, Governance) โดยในปัจจุบันธุรกิจกำลังดำเนินการใน 3 เรื่องที่สำคัญ คือ ข้อที่หนึ่ง เร่งการบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เกิดขึ้นกับทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจตามหลักดังกล่าว ข้อที่สอง การพัฒนาสินค้า การบริการ และโซลูชันต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของคู่ธุรกิจและตอบสนองได้อย่างทันท่วงที และข้อที่สาม คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้งานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ เอสซีจีซี ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ระดับภูมิภาค สนับสนุนให้เกิดการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ในกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  


Digital Technology
เพื่อช่วยการตัดสินใจขององค์กร 

ในกระบวนการดังกล่าว ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบ (Feedstock Sourcing) สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Machine Learning เข้ามาช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดการซื้อวัตถุดิบ โดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนดังกล่าวเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการประมวลผล นอกจากนี้ ในส่วนของกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก เทคโนโลยีดิจิทัลก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อนำมาสร้างเป็นแบบจำลอง (Simulation) รูปแบบต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนำมาใช้กับการคาดการณ์ผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะกระทบต่อระบบการผลิต ทำให้ทีมงานเตรียมพร้อมและเข้าแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว


Digital Commerce Platform (DCP)
เชื่อมต่อข้อมูลกับลูกค้าได้แบบ real-time 

เทคโนโลยีดิจิทัลเองยังมีประโยชน์กับลูกค้าอีกด้วย ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ใช้ Digital Commerce Platform (DCP) เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากคำสั่งซื้อลูกค้าเข้ากับข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถลดเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ถึง 70% โดยลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา ตามรูปแบบการทำงาน New Normal และธุรกิจเคมิคอลส์ยังสามารถใช้ฐานข้อมูลจากระบบมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการบริหาร Value Chain ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ 

สู่การสร้าง Digital Twin โมเดลจำลองกระบวนการผลิตในโรงงาน

หนึ่งในโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุดของ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี คือ Project Bonsai ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด สาระสำคัญของโครงการนี้ เป็นการนำเทคโนโลยี ‘Digital Twin’ กล่าวคือการสร้างโมเดลจำลอง หรือ Simulation ของกระบวนการผลิต ทำให้เกิดกระบวนการผลิตในรูปแบบออนไลน์ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ ใกล้เคียงหรือคล้ายกับของกระบวนการที่เกิดขึ้นจริงในโรงงานจากนั้นจะมีการนำปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับโมเดลจำลองนี้ได้ เทคนิคดังกล่าวทำให้สามารถสร้างกระบวนการผลิตเสมือนจริงได้ภายใต้เงื่อนไขที่หลากหลายและมีตัวแปรที่แตกต่าง โดยที่ทีมงานสามารถศึกษาผลกระทบ ความเสี่ยง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกระบวนการผลิตเสมือนจริงในแต่ละรูปแบบได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องหยุดกระบวนการผลิตจริงเพื่อทำการทดสอบ

การเกิดขึ้นของ Project Bonsai นี้ นอกเหนือจากจะช่วยประมวลผลความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขหลากหลายรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นวัตกรรมชั้นสูงนี้ยังช่วยลดระยะเวลาของการทดลองและการสรุปผล ว่ารูปแบบการผลิตใดมีประสิทธิภาพสูงที่สุดทั้งยังมีความแม่นยำสูง เพราะเป็นการประมวลผลจากข้อมูลจำนวนมหาศาล และลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนการผลิตชนิดผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปก็คือ Project Bonsai ซึ่งเป็น Machine Teaching ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบหนึ่ง ช่วยทำให้การบริหารจัดการซัพพลายเชนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารนำไปขยายผลกับส่วนอื่น ๆ ของโรงงานได้ในอนาคต

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก คุณก็สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานมิติต่าง ๆ ได้ เราจึงอยากชวนคุณมาฟังประสบการณ์จริงจากผู้บริหารและทีมงานจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และไมโครซอฟท์  ไปพร้อม ๆ กันได้ที่นี่  https://bit.ly/3wvr2T1 และ https://bit.ly/2V4DrQT    

ที่มา:


Is this article useful ?