close

21 พ.ค. 2561

เอสซีจี เคมิคอลส์ จับมือ สกว. และ จุฬาฯ สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีฐานตัวเร่งปฏิกิริยาให้กับอุตสาหกรรมไบโอดีเซล และอุตสาหกรรมเอทานอล

เอสซีจี เคมิคอลส์ จับมือ สกว. และ จุฬาฯ สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีฐานตัวเร่งปฏิกิริยาให้กับอุตสาหกรรมไบโอดีเซล และอุตสาหกรรมเอทานอล ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

เอสซีจี เคมิคอลส์ โดย ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ R&D Director and Emerging Businesses Director (ซ้ายสุด) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โครงการชี้ทิศทางและสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีฐานด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี สำหรับอุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมเอทานอลและอุตสาหกรรมที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” (CAT-REAC industrial project) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ (ที่ 4 จากซ้าย)  ผอ. สกว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (ที่ 5 จากซ้าย) อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมลงนาม โดยบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับนี้มีภาคเอกชนร่วมเป็นสมาชิกตั้งต้นโครงการรวม 5 องค์กรด้วยกัน

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนนี้จะช่วยสร้างองค์ความรู้เพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมในการสร้างเทคโนโลยีฐานด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมีให้กับอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและไบโอเอทานอล และอุตสาหกรรมที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยลดค่าใช้จ่ายของอุตสาหกรรมได้ปีละกว่า 100 ล้านบาทแล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของตนเองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีสากลได้อย่างยั่งยืน


Is this article useful ?