SCGC ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการฟื้นฟูผืนป่า พร้อมผนึกกำลังความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นวาระสำคัญของโลกดังที่ปรากฏในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการแถลงการณ์ประกาศขึ้นครั้งแรกระดับนานาชาติต่อประเด็น ‘ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ’ (climate emergency) เพื่อเป็นการยกระดับจากปัญหาสภาวะโลกร้อนสู่วิกฤตที่คนทั่วโลกจำเป็นต้องตระหนัก และลงมือแก้ไขอย่างจริงจังทันที ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงที ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่เพียงสร้างความเสียหายทางธรรมชาติ แต่ยังส่งผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจรุนแรงเกินกว่าที่เราจะรับมือกันได้
การสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหา และการลงมือแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน เป็นวิถีที่ SCGC ดำเนินมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดระยอง ที่ SCGC ร่วมมือกับชุมชน ราชการและหน่วยงานท้องถิ่น ดูแลพื้นที่และลงมือทำกิจกรรมส่งเสริมการลดโลกร้อน ปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจต่อสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องไกลตัว และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู อนุรักษ์ ดูแลป่าอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ SCGC มีเป้าหมายที่จะปลูกป่า 1 ล้านต้น โดยได้ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการในพื้นที่ เปิดตัวโครงการ "ปลูก เพาะ รัก : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ" โดยจะดำเนินการปลูก เพาะ และดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ สร้างความยั่งยืนแก่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมต่อไป
ปลูกต้นไม้
ป่าไม้มีประโยชน์และคุณค่าในการเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์ มีส่วนสำคัญในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รองรับน้ำ ช่วยชะลอและป้องกันปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสรรพชีวิต อุดมไปด้วยพันธุ์พืชและเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสิ่งมีชีวิต อีกทั้งมีความสำคัญในด้านการนันทนาการ การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก ทำลาย หรือเปลี่ยนสภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น SCGC จึงได้ร่วมกับหน่วยงานราชการ และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง พร้อมการเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของผืนป่า ให้ความรู้วิธีปลูกป่าที่ถูกต้อง ทำให้ชุมชนเกิดความรักในทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นตนเอง เห็นถึงความสำคัญของป่า ก่อเป็นแนวคิดคนรักษาป่า ป่าก็จะช่วยรักษาและช่วยดูแลคนเช่นกัน คนจึงอยู่ร่วมกับป่ากันได้อย่างเกื้อกูล มีอากาศที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ในท้องถิ่น
"
การดำเนินโครงการฯ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ทั้งผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เยาวชน ชุมชนในพื้นที่และจิตอาสาทั่วไป โดยตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบัน (ก.พ. 2566) SCGC ได้ร่วมปลูกต้นโกงกางและไม้อื่น ๆ ในพื้นที่ป่าชายเลนไปแล้ว ป่าชายเลน : 161,100 ต้น ป่าบกและป่าชุมชน : 49,529 ต้น
"
ในปี 2565 SCGC ยังได้ยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการปลูกเพื่อคาร์บอนเครดิต กับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ทช.) พื้นที่จำนวน 1,000 ไร่ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะช่วยดูดซับคาร์บอนได้ถึง xxxxxxxx ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
นอกจากการดำเนินการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง SCGC ยังส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชน และกิจกรรมสร้างพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างพื้นที่ที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเมือง ลดวิกฤตโลกร้อน เพื่อส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและอากาศอันบริสุทธิ์ให้กับชุมชน ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ
เพาะต้นกล้า
จากการฟื้นฟูผืนป่า สู่การสร้างธนาคารต้นไม้ ออมเมล็ดพันธุ์ โดยจุดเริ่มต้นจากการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเขายายดา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากะเฉด-ป่าเพ-ป่าแกลง ครอบคลุมพื้นที่ 28,937 ไร่ มีความสำคัญคือเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง โดยหลังจากที่ SCGC ร่วมกับท้องถิ่นปลูกป่าในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จึงริเริ่มสานต่อโครงการฯ ด้วยการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้หายาก จัดทำเป็นโรงเรือนเพาะชํากล้าไม้ เพื่อนําเมล็ดพันธุ์จากต้นไม้ในพื้นที่เขายายดามาเพาะขยายพันธุ์ พร้อมแจกจ่ายให้กับพนักงานของบริษัทและบุคคลทั่วไปนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะ และส่งกลับคืนต้นกล้าเพื่อนําไปเพาะเลี้ยงต่อในโรงเรือน และดูแลให้เจริญเติบโตเป็นกล้าไม้ที่แข็งแรง
"
ปัจจุบัน (ก.พ. 2566) เพาะกล้าไม้แล้วจำนวน 20,100 ต้น
"
รักษาป่า
SCGC ไม่เพียงแค่ส่งเสริมการปลูกป่า แต่ยังปลูกฝังความรู้สึกรักและหวงแหนการดูแลป่าและสิ่งแวดล้อมใหเติบโตร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีพันธกิจร่วมกัน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครการรวมกลุ่มอนุรักษ์ในท้องถิ่น ได้แก่ เครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) กรมป่าไม้ และชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านแลง เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสํานึกให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บุกรุกทําลายป่ามาเป็นผู้ดูแลรักษาให้ "คน" กับ "ป่า" อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขโดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดกิจกรรมการดูแลพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกป่าเพิ่ม การสํารวจลาดตระเวนป่า โดยในแต่ละปีจะมีการรับสมัครสมาชิกรุ่นใหม่ เพื่อเข้ามาสานต่องานของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
"
ปัจจุบัน (ก.พ. 2566) ได้มีการรวมพลังปลูกป่า สร้างการมีส่วนร่วมคนรักษ์ป่าร่วมกว่า 5,750 คน
"
สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ
SCGC ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูสิ่งแวดล้อม สังคม ด้วยหลักบรรษัทภิบาล ตามแนวทาง ESG มาอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาที่ผ่านมา SCGC ได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูผืนป่า สร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่เป็นวาระสำคัญของโลกในขณะนี้
"
ปัจจุบัน (ก.พ. 2566) SCGC มุ่งเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3,277 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
"